ประเพณียี่เป็ง http://e5431050201.siam2web.com/

ประเพณียี่เป็ง 

ประเพณี ลอยกระทง หรือ ลอยโขมด มีมาแต่โบราณ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนา ที่นับถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 นับตั้งแต่อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรล้านนา โดยเมื่อถึงเดือนยี่เป็งก็กระทำพิธีลอยโขมด เป็นการลอยกระทง ความหมายคือ การลอยเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม, ลอยเพื่อลอยเคราะห์ลอยบาป, ลอยเพื่อส่งสิ่งของ, ลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร และลอยเพื่อบูชาอุบคุดด์เถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล

ประเพณีการลอยกระทงทางภาคเหนือเรียก ประเพณียี่เป็ง ตรงกับเดือนยี่ ขึ้น 14-15 ค่ำ ประเพณีลอยกระทงทางภาคเหนือนี้ตามหนังสือพงศาวดารโยนก และหนังสือจามเทวีวงศ์ กล่าวสอดคล้องเหมือนกันว่า เมื่อจุลศักราชได้ 309 (พ.ศ.1490) พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติในนครหริภุญชัย สมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้น ที่ตำนานเรียกว่า โรคหิว หรือ โรคห่า หรือ โรคอหิวาตกโรค ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บางพวกที่มีชีวิตอยู่เห็นว่าถ้าอยู่ต่อไปต้องตายแน่ จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองสุธรรมวดี คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือมอญ ต่อมาพระเจ้าพุกาม กษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม ได้เก็บเอากุลธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาติกาเป็นจำนวนมาก

เมื่อเบื่อหน่ายก็ทอดทิ้งไม่ชุบเลี้ยงเหมือนดั่งก่อน พวกชาวเมืองหริภุญชัยก็อพยพหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความอนุเคราะห์ชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี หลังจากที่อาศัยอยู่ไม่นาน ชาวเมืองได้ทราบข่าวว่าโรคระบาดทางนครหริภุญชัยสงบแล้ว ก็คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ก็พากันกลับมายังหริภุญชัยอีกครั้ง บางคนต่างก็แต่งงานมีครอบครัว ก็ไม่กลับไปยังหริภุญชัย ยังคงอยู่ที่เดิมที่เมืองหงสา ครั้นถึงเดือนยี่เป็ง ที่ครบรอบที่ได้จากพี่น้องทางเมืองหงสามา ก็ได้จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการะบูชา อาหาร เสื้อผ้า วัตถุข้าวของ ใส่ในแพไหลล่องตามแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงยังญาติพี่น้อง โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะล่องลอยไปถึงญาติที่อยู่ในเมืองหงสาอันไกลโพ้น

การกระทำพิธีดังกล่าวเรียกกันว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ และถือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (การลอยกระทงนั้น ในสมัยอาณาจักรล้านนาโบราณเรียกว่า ลอยโขมด คำว่าโขมดเป็นชื่อผีป่า เรียกกันว่าผีโขมด ชอบออกหากินเวลากลางคืน จะมีพะเนียงแสงไฟเห็นเป็นระย้าคล้ายผีกระสือ ดังนี้ กระทงที่จุดเทียนลอยน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำทำให้เกิดเงา เหมือนแสงไฟจากผีโขมด ดังนั้น ทางล้านนาโบราณจึงเรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด)

ในสมัยอาณาจักรล้านนาไท พุทธศักราชได้ 2061 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) แห่งราชวงศ์มังราย เทศกาลเดือนยี่เป็งเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มาก อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันไปบูชาพระเจ้าในอารามข่วงแก้วทั้งหลาย มากมายไปด้วยผู้คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่ รื่นเริงม่วนเล่นมหรสพสมโภชครึกครื้น เป็นที่พึงพอใจอย่างยิ่ง

ประเพณีเดือนยี่เป็ง มาถึงพอเริ่มขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ วัดวาอารามจะจัดเตรียมสถานที่ในวัด ปัดกวาดพระวิหารศาลาให้สะอาด และจัดเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ 1.ทำราชวัตร รอบวิหาร เจดีย์ ทำซุ้มประตูป่าทางเข้าวัด 2.ทำโคมแขวน โคมค้าง โคมรูปต่างๆ 3.ทำว่าว หรือโคมลอย ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ โคมที่ใช้ปล่อยตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยใช้วิธีรมควัน และโคมปล่อยตอนกลางคืน ใช้วิธีรมควันเหมือนว่าวที่ปล่อยกลางวัน แต่จะจุดไฟที่ท่อนผ้าผูกติดกับปากโคมลอยปล่อยสู่อากาศ โคมจะลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ คล้ายดาวเคลื่อนคล้อยในเวหา และ 4.การทำบอกไฟ (บั้งไฟ) ประกอบด้วยบอกไฟหลายชนิด เช่น บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟเทียน บอกไฟช้างร้อง บอกไฟจักจั่น บอกไฟท้องตั๋น บอกไฟขี้หนู ทำขึ้นเพื่อจุดในวันยี่เป็ง

มีคัมภีร์ที่กล่าวถึงการทำโคมลอย ทำว่าวไว้ด้วยว่า หากคนใดทำจะมีอานิสงส์ 1 กากณึก (ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกานำไปได้ เป็นชื่อมาตราเงินต่ำที่สุด) การปล่อยโคมลอย ว่าว จุดบอกไฟนั้น เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อีกประการหนึ่งด้วย

สำหรับชาวบ้านชาวเมืองจะจัดเตรียมสิ่งของ ดังนี้ 1.เครื่องนุ่งหย้อง เพื่อจะไปวัดในเดือนยี่เป็ง 2.เตรียมโคมทำราวแขวนโคม เพื่อประดับบูชาหน้าบ้านเรือนตน 3.เตรียมผางผะดิ้ด (ถ้วยประทีป) ไว้เท่าอายุของคนที่อยู่ในเรือนนั้น 4.เตรียมกัณฑ์ธรรม หรือกัณฑ์เทศน์สำหรับจะนำไปถวายพระตอนฟังเทศน์ 5.เตรียมบุปผาลาจาข้าวตอกดอกไม้เพื่อใช้โปรยเวลามีงานในการฟังเทศน์มหาชาติ และใส่ขันแก้วตึงสาม 6.เตรียมอาหาร ผลไม้ ขนม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ จัดเตรียมในวันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเช้าตรู่ และ 7.ทำซุ้มประตูป่าแบบต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม ประกอบด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกรัก นำมาประดิษฐ์เป็นอุบะห้อยประตูป่า

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่เป็ง ประมาณ 06.00 น. เช้ามืด ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ที่วัดเรียกว่า ตานขันข้าว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว

ตอนสายชาวบ้านจะไปที่วัดเพื่อฟังเทศนาธรรม วัดบางแห่งมักจะมีการตั้งธรรมหลวง เรียกว่า เทศน์ธรรมมหาจาติแบบพื้นเมือง จะมีการเทศน์ทั้งหมด 13 กัณฑ์ ให้เสร็จภายในวันเดียว

ตอนเช้าลู่ค่ำ ชาวบ้านชาวเมืองจะพากันไปสู่ที่วัด เพื่อนำผางปะดิ้ดไปจุดบูชาพระเจ้าที่วัด จุดโคมบูชาสว่างไสวทั่วพระอาราม หลังจากจุดธูปเทียนบูชาแล้ว จะมีการจุดบอกไฟ (ดอกไม้ไฟ) ประเภทต่างๆ ภายในวัด โดยจุดเป็นพุทธบูชา ส่วนผู้เฒ่า ผู้แก่จะกลับไปบ้าน เพื่อจุดผางปะดิ้ดที่บ้าน บูชาพระพุทธเจ้า บูชาเจ้าที่เจ้าทาง บูชาบ่อน้ำ บูชาประตูบ้าน บูชาครัวไฟ ประตูยุ้งฉาง เทวดาประจำบ้าน

ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือนั้น เป็นประเพณีที่ได้รับการส่งเสริมตลอดมา ปัจจุบันประเพณีการลอยกระทงทางเหนือได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ 

ที่มา : http://news.sanook.com/education/education_44572.php

 

 

 

โชว์วัฒนธรรมฯรับลมหนาว สืบสานตำนานอวดชาวโลก
"
ยี่เป็ง? เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา ยี่เป็ง เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า ?ยี่? แปลว่า สอง และคำว่า ?เป็ง? ตรงกับคำว่า ?เพ็ญ? หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ หรือเดือน 2 ของไทยล้านนา ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้ง แต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น ?วันดา? หรือวันจ่ายของ เตรียม ไปทำบุญเลี้ยงพระที่ วัด พอถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระ ที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทง ใหญ่ที่วัด และกระทง เล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำในท้องถิ่นของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะลอยในลำน้ำแม่ระมิงค์ หรือแม่น้ำปิงที่เปรียบเสมือนสายโลหิตใหญ่หล่อเลี้ยงชาวเชียงใหม่และแผ่นดิน ล้านนามาหลายชั่วอายุคน


สำหรับงานบุญประเพณียี่เป็งนอกจากจะ มีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมไฟพร้อมกับมีการจุดประทีป หรือผางปะติ๊บ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ หรือดอกไม้ไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ชั้นดาว ดึงส์ตามประ เพณีที่สืบต่อกันมาหลายร้อยปีในแผ่นดินล้านนา


ที่มา : http://www.baanmaha.com/ 

 

 

เก็บตก "ประเพณียี่เป็ง เมืองเชียงใหม่" 

  ยามที่พระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้ว ความมืดมิดก็เข้ามาปกคลุม แต่เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ท้องฟ้าของเมืองเชียงใหม่กลับสว่างไสวอีกครั้งด้วย "โคมลอย" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณี "ยี่เป็ง" ที่มีชื่อเสียงของ จ. เชียงใหม่นั่นเอง
   
ประเพณียี่เป็งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่างๆ ไปกับโคมลอยและกระทงที่เรียกว่า "ลอยโขมด" โดยในวันยี่เป็งซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี

จะมีการถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้า จากนั้นชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารมาถวายแด่พระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารอีกสำรับหนึ่งมาทำบุญตักบาตร พอใกล้ค่ำชาวบ้านนำประทีบมาวัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัยและฟังเทศน์ จากนั้นจึงเริ่มจุดโคมไฟ โคมลอยหรือลอยโขมด (ลอยกระทง) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกหรือสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไป รวมทั้งยังถือเป็นการทำทานด้วย เพราะชาวบ้านนิยมแขวนสิ่งของ เงิน หรือข้อความที่ระบุว่าใครเก็บได้สามารถนำมาขึ้นรางวัลกับผู้ปล่อยโคม
     
งานประเพณีลอยกระทงของ จ. เชียงใหม่ในปีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2549 บริเวณข่วงประตูท่าแพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง ไปจนถึงหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยจะคึกคักมากที่สุดในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง 


 เมื่อท้องฟ้าเริ่มมืด ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศต่างก็ทยอยกันมาลอยกระทง และปล่อยโคมไปบนท้องฟ้า ซึ่งทำให้ท้องฟ้าในค่ำคืนนี้ เต็มไปด้วยแสงของโคมที่ผู้มาร่วมงานได้ปล่อยขึ้นไปบนฟ้าอย่างไม่ขาดสาย 

     
   

     นอกจากจะได้ร่วมงานลอยกระทงของชาวล้านนาแล้ว ก็ยังจะได้ชมขวนแห่กระทงเล็ก กระทงใหญ่ และโคมไฟ ที่บริเวณ ถ. ท่าแพอีกด้วย ซึ่งทำให้งานประเพณีลอยกระทงเชียงใหม่มีสีสันมากยิ่งขึ้น 

  

  

     สำหรับใครที่พลาดงาน "ประเพณียี่เป็ง" ของชาวเชียงใหม่ในปีนี้ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะทีมงาน "นายรอบรู้" (น้อย) ก็ได้เก็บภาพบรรยากาศของงานมาให้ชมกันแล้วนะจ๊ะ 

 

ที่มา : http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=741

 

 

 

ที่มา : http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangmai/yipang.html

 

 

 

 

 

 

งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่  
1 - 3 พฤศจิกายน 2552
ณ จังหวัดเชียงใหม่

**กำหนดการและกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรุณาตรวจสอบข้อมูลก่อนการเดินทางอีกครั้งนะครับ**
 

 

เวลา 

กิจกรรม 

สถานที่ 

๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ 

๑๗.oo – ๒๓.oo น. 

การแสดงสินค้าหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน 

ถนนวัวลาย 

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การประกวดร้องเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน

หน้าสำนักงานเทศบาล

๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๑๗.oo – ๒๓.oo น.

การแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา ถนนคนเดิน

ถนนราชดำเนิน

๑๘.oo – ๑๙.oo น.

พิธีเปิดงาน ประเพณีเดือนยี่เป็ง ประจำปี ๒๕๕๒

ข่วงประตูท่าแพ

๑๘.oo – ๒๒.oo น.

ขบวนแห่โคมยี่เป็ง ครั้งที่ ๑๘ ย่านไนท์บาซาร์

ข่วงประตูท่าแพ ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าร์

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การประกวดหนูน้อยยี่เป็ง

หน้าสำนักงานเทศบาล

๑-๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การประกวดเทพียี่เป็งเชียงใหม่

ข่วงประตูท่าแพ

๑-๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ตลอดทั้งวัน

การจัดซุ้มประตูป่า

วัดในเมืองเชียงใหม่

o๙.oo – ๒๑.oo น.

นิทรรศการ สืบสานตำนานโคมยี่เป็งล้านนา

วัดอินทขิล

o๙.oo – ๒๒.oo น.

วัฒนธรรมชนเผ่า ๖ เผ่า, ชมเขาวงกต,เทศน์มหาชาติ

วัดเจ็ดสิน

 

ประเพณีตั้งธรรมหลวง, ตามขันข้าว, แข่งขันโคมไฟลอดบ่วง

วัดโลกโมฬี

o.oo – ๒๓.oo น.

สืบฮีต สานฮอย ฮอมปอย ไหว้สาพระสิริมังคลายี่เป็ง

พุทธสถานเชียงใหม่

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การจัดลานโคมยี่เป็งล้านนาเทิดพระเกียรติฯ

ข่วงประตูท่าแพ

๑๘.oo – ๒๒.oo น.

ประทีปเบิกฟ้า ยี่เป็งล้านนาเชียงใหม่"

ประตูช้างเผือก ประตูเชียงใหม่

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การประกวดกระทงลอยน้ำ และกระทง VIP

ลำน้ำปิงหน้าเทศบาล สะพานนวรัฐ

o.oo – ๒๒.oo น.

การแสดงแสง สี เสียง กลางลำน้ำปิง

หน้าสำนักงานเทศบาล

๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

o๘.oo – o.o น.

พิธีบวงสรวงศาลพระภูมิ, เจดีย์ขาว,ขอขมาแม่น้ำปิง

หน้าเทศบาล, ท่าน้ำศรีโขง

o๙.oo – ๑๒.oo น.

การประกวดโคมลอย และโคมลอยยักษ์

หน้าสำนักงานเทศบาล

o๙.oo – ๑๗.oo น.

การประกวดกระทงฝีมือใบตอง ดอกไม้สด

หน้าสำนักงานเทศบาล

o๙.oo – ๑๗.oo น.

การแข่งขันกีฬาทางน้ำ ถ่อแพ, ดำน้ำ, พายกาละมัง

ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล

๑๘.oo – ๒๓.oo น.

การประกวดขบวนแห่กระทงเล็ก

ข่วงประตูท่าแพ หน้าเทศบาล

๒-๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๑๙.oo – ๒๔.oo น.

การจุดพลุ ถวายเป็นพุทธบูชา

แพกลางน้ำหน้าเทศบาล

๑๙.oo – ๒๔.oo น.

การปล่อยกระทงสายสืบสานล้านนา

ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล

๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๑๘.oo – ๒๔.oo น.

การประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานฯ

ข่วงประตูท่าแพ หน้าสำนักงานเทศบาล

๑๘.oo – ๒๓.oo น.

อนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเพณ๊ยี่เป็ง

วัดเมืองสาตรน้อย

สอบถาม
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ :

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๗๒
ททท.สำนักงานเชียงใหม่

 



สอบถามรายละเอียด
เทศบาลนครเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5325 5478, 0 5323 3178
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604, 0 5324 8607
Website : www.loikrathong.net 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 2,573 Today: 3 PageView/Month: 18

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...